คำอธิบายรายวิชา
เป็นรายวิชาที่รวมเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยในการผลิต กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิต รวมถึงการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลิตผลจากเห็ดและพืชผักตามหลักการเกษตรปลอดภัย เพื่อการผลิตอาหารในครัวเรือน หรือระดับวิสาหกิจชุมชน 1. ปัจจัยในการผลิตเห็ดและพืชผักปลอดภัย – เครื่องย่อยชีวมวลพืชและเครื่องทุ่นแรงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร รศ.บัณฑิต หิรัญสถิตพร – การเตรียมก้อนเชื้อเห็ดและเพาะเห็ดสกุลนางรม อ.ปรีชา รัตนัง – การเตรียมก้อนเชื้อเห็ดและเพาะเห็ดหลินจือตามหลักเกษตรปลอดภัย อ.ปรีชา รัตนัง – การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ผศ.ดร.พิภัทร เจียมพิริยะกุล อ.อุษณีย์ แสนสบาย 2. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเห็ดและผักปลอดภัย – ระบบ IoT เซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดค่าปริมาณความชื้นในดิน ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ – ระบบบันทึกกระบวนการเพาะปลูกแบบแม่นยำเทคโนโลยี NFC ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ – เทคโนโลยีโดรนฉีดพ่นทางการเกษตรแบบแม่นยำ ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ – เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการผลิตต้นพันธุ์ ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล 3. การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลิตผลจากเห็ดและพืชผัก – การสร้างผลิตภัณฑ์เห็ดกรอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม – การสร้างผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันจากเห็ดและผักด้วยการหมัก ผศ.ดร.ศรีกาญจนา คล้ายเรือง อ.ดร.มยุรา ศรีกัลยานุกูล อ.ดร.จุฑามาศ มณีวงศ์ – การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าเห็ดหลินจือ อ.ปรีชา รัตนัง – ผักและผลไม้สดพร้อมบริโภค ผศ.ดร.ปวาลี ชมพูรัตน์ อ.ดร.แพรวพรรณ จอมงาม – การจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเบื้องต้น ผศ.ดร.ปวาลี ชมพูรัตน์ อ.ดร.แพรวพรรณ จอมงาม – การจัดการระบบโรงงานผลิตพืช (plant factory) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ผศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี
- วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (LO)
- เพื่อผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการของการผลิตเห็ดและผักตามหลักการเกษตรปลอดภัยได้
- เพื่อผู้เรียนสามารถเลือกกระบวนการที่สนใจ และลงมือสร้างผลิตภัณฑ์เห็ดหรือผักโดยอาศัยหลักการของการผลิตเห็ดและผักตามหลักการเกษตรปลอดภัยได้